วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Chapter 4 E-COMMERCE


Chapter 4 E-COMMERCE


    
    ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์  (Electronic Business)  คือ กระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การ เครือข่ายร่วม (Internet worked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร







 การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ELECTRONIC COMMERCE)

          พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์   ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้ารวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้ 

การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)

1.การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์(E-Retailing) 

2.การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions) 

3.การบริการอิเล็กทรอนิกส์ (E-Service) 

4.รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government) 

การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่  (M-Commerce : Mobile Commerce)

โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)   องค์ประกอบหลักสำคัญด้านเทคโนโลยีพื้นฐานที่จะนำมาใช้เพื่อการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนได้แก่ 

1.ระบบเครือข่าย (Network) 

2.ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication) 

3.การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา  (Format & Content  Publishing) 

4.การรักษาความปลอดภัย (Security)

การสนับสนุน (E-Commerce Supporting) 

1.การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development 

2.การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy 

3.กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law 

4.การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain NameRegistration 

5.การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion


ขนาดของอีคอมเมิร์ซ




 Brick – and – Mortar Organization องค์กรเก่าเศรษฐกิจ (บริษัท ) ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดของพวกเขา ธุรกิจแบบ off-line, การขายสินค้าทางกายภาพโดยวิธีการของตัวแทนทางกายภาพ (การค้าขายแบบดั่งเดิม)
 VirtualOrganization                                                                                                               องค์กรที่ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจของพวกเขา แต่เพียงผู้เดียวออนไลน์(แบบดิจิตอลทั้งหมด)
 Click – and Mortar Organization                                                                                     
 องค์กรที่ดำเนิน กิจกรรมอีคอมเมิร์ซบางอย่าง แต่ทำของพวกเขา ธุรกิจหลักในโลกทางกายภาพ(มีบางส่วนอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง)





ประเภทของ E-Commerce

กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
1.Business-to-Business (B2B) ธุรกิจกับธุรกิจ
2.Business-to-Customer (B2C) บริษัทขายให้กับผู้บริโภคคนสุดท้าย
3.Business-to-Business-to-Customer (B2B2C) ประเภทสายต่อ ขายต่อ
4.Customer-to-Customer (C2C) ลูกค้ากับลูกค้า
5.Customer-to-Business (C2B) ลูกค้าขายให้กับธุรกิจ
6.Mobile Commerce ผ่านโทรศัพท์

กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit Organization) 

1.Intrabusiness (Organization) E-Commerce ให้บริการภายในองค์กร                     
2.Business-to-Employee (B2E) การให้บริการจากภาครัฐไปยังภาคประชาชน
3.Government-to-Citizen (G2C) การให้บริการจากภาครัฐไปยังภาคประชาชน
4.Collaborative Commerce (C-Commerce) การเอาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาให้ความร่วมมือ ระหว่างตัวองค์กรต่างๆ ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
5.Exchange-to-Exchange (E2E) การแลกเปลี่ยนข้อมูล
6.E-Learning การสอน การสอบออนไลน์ 

E-Commerce Business Model

แบบจำลองทางธุรกิจ หมายถึง วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ รวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการ

ธุรกิจที่หารายได้จากค่าสมาชิก
     ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจที่จะสามารถหารายได้จากค่าสมาชิกได้ก็คือ การมีสารสนเทศหรือบริการที่มีคุณภาพที่ดี พอที่จะทำให้ลูกค้ายอมจ่ายค่าสมาชิกดังกล่าว เช่น ต้องมีสารสนเทศที่แตกต่างจากผู้ประกอบการรายอื่น (Wall Street Journal หรือ Business Online) หรือใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการรักษาฐานลูกค้าไว้

 ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน
     ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานเป็นธุรกิจ E-Commerce ที่ให้บริการแก่ธุรกิจ E- Commerceอื่น ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จะขึ้นอยู่กับการขยายตัวของ ตลาด E-Commerce โดยรวม กล่าวคือ หากเศรษฐกิจ อยู่ในช่วงขยายตัว และมีผู้ประกอบการ E-Commerce มาก รายได้ของธุรกิจเหล่านี้ก็จะเพิ่มขึ้น ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งได้ ก็จะมีแนวโน้มที่จะเติบโต และน่าจะทำกำไรได้ในระยะยาว

ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์
     ปัจจัยในความสำเร็จของโมเดลทางธุรกิจดังกล่าวมักจะขึ้นอยู่กับความสามารถใน การจัดการส่งสินค้าและให้บริการหลังการขายให้แก่ลูกค้า  ธุรกิจค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่มีร้านค้าทางกายภาพมีแนวโน้มที่จะต้องสร้าง ร้านค้าหรือคลังสินค้าขึ้นด้วยจนกลายเป็นธุรกิจที่เรียกว่า Click- and-Mortar หรืออาจใช้วิธีการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับร้านค้าปลีกแบบเดิม

ธุรกิจที่หารายได้จากโฆษณา
     การจัดทำเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้ต้องอาศัยการลงทุน สูง และจำเป็นต้องทำการตลาดและการประชาสัมพันธ์ผ่าน สื่อต่างๆมาก ปัจจัยในความสำเร็จของธุรกิจในกลุ่มนี้จึงได้แก่การสร้างจุดเด่นที่แตกต่าง จากธุรกิจในแนวเดียวกัน

บริการรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
     บริการจากภาครัฐมักมีจุดประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนและธุรกิจ ในการติดต่อกับภาครัฐ (eCitizen) เพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงาน  เพิ่มประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของภาครัฐ

 ธุรกิจตลาดประมูลออนไลน์
     ธุรกิจในกลุ่มนี้มีรูปแบบการหารายได้ทั้งในแบบ B2C ซึ่งหารายได้จากการ จำหน่ายสินค้าส่วนเกินของบริษัทโดยไม่เกิดความขัดแย้งกับช่องทางเดิม ตลาดประมูลออนไลน์ยังช่วยให้ธุรกิจสามารถหาราคาที่เหมาะสมของสินค้าปัจจัยใน ความสำเร็จของธุรกิจประมูลแบบ B2C คือความสามารถในการหาสินค้าที่มีคุณภาพดี แต่มีต้นทุนต่ำมาประมูลขาย ซึ่งจำเป็น ต้องอาศัยการมีพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสินค้าเหลือจำนวนมาก

ธุรกิจตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์
      ธุรกิจในกลุ่มนี้จะหารายได้จากค่านายหน้าในการให้บริการตลาดกลางซึ่งช่วยจับ คู่ผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน ในช่วงแรกธุรกิจตลาดกลางมักดำเนินการโดยผู้บริหารตลาดที่เป็นอิสระจากผู้ ซื้อหรือผู้ขายผู้บริหารตลาดอิสระมักไม่สามารถชักชวนผู้ซื้อหรือผู้ขายให้ เข้าร่วมในตลาดจนมีจำนวนที่มากพอได้ ตลาด ปัจจัยในความสำเร็จของตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์คือ ความสามารถในการดึงดูดผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากให้มาเข้าร่วมในตลาดทำให้ ตลาดมีสภาพคล่อง (liquidity) มากพอ ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการมีความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ซื้อ

ธุรกิจที่ใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม Productivity
      รูปแบบในการใช้ E-Commerce ในการเพิ่ม productivity ที่มีประสิทธิผลมากที่ สุดมักได้แก่ การบริหารซัพพลายเชน (Supply Chain Management) และการให้บริหารลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Management) เนื่องจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ผลิตและซัพพลายเออร์จะ ช่วยให้สามารถคาดการยอดขายได้ดีขึ้น ตลอดจนลดเวลาในการส่งมอบสินค้าให้ลูกค้า





ข้อดีและข้อเสียของ E-Commerce

ข้อดี

1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้ง่าย
7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสีย

1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์  
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น